วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Begining of life - จุดเริ่มต้นของชีวิต




แล้วในวันที่เหมาะสม Blog ของผมก็ถือกำเนิดขึ้น
The day ,My – Blog - is rising.

จุดเริ่มต้นของบทความ 13 พฤษภาคม 2553


ตั้งใจ
กับตัวเองว่าอยากมี Web site ของตัวเองสักครั้งในชีวิต ตอนนี้ก็ล่วงเลยมาถึง 30 แล้วก็ยังหาไม่ วันนี้ฤกษ์งามยามดี วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2553 "วันพืชมงคล" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง
My ambition is the web owner,but time belong 30 year olds .It’s not happen.A propitious day is Famer’s Day know as “Wan-Peoch-Mong-Kol” .My blog is rising


เนื้อหา ของ Blog นำเสนอเกี่ยวกับ เรื่อง สุขภาพ และงานอดิเรก Healty & Hobby โดยเรื่องสุขภาพ จะนำเสนอเกี่ยวกับ การดูแลรักษาสุขภาพ และโรคต่างๆทั่วไป บรรณาธิการโดย คุณมิ้นท์ ส่วนเรื่อง งานอดิเรก ก็จะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง หนัง ละคร อาหาร ท่องเที่ยว การ์ตูน เกมส์ อินเตอร์เนต และอื่นๆ ที่ไม่เน้นสาระ แน่นอนบรรณาธิการโดย ผม เอง
My blog is talk about Healty & Hobby . The healty talk about health ,disease editor by Mint , Hobby talk about movie ,food ,travel ,cartoon ,game ,internet etc., editor by me.



ยัยมิ้นท์ ช่างเม้าท์ค่ะ


วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

มะเร็งผิวหนัง (skin cancer)

        สวัสดีคะ...  ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์...กลับมาพบท่านผู้อ่านอีก ตามเคยอย่าพึ่งเบื่อกันไปก่อนแล้วกันนะคะ..จริง ๆ วันนี้ก็มีเรื่องมาเม้าท์กันเหมือนเดิมก็อะไรซะอีกหล่ะคะ...เรื่องเก่ามาเล่าใหม่นั่นแหละค้า เรื่องใกล้ตัวที่เราอาจละเลย หรือ ได้ดูแลแล้วแต่อาจไม่เพียงพอ วันนี้เราก็มีมาแนะนำเหมือนกัน.....อยากรู้แล้วหล่ะซิ...ตามมาเลย

มะเร็งผิวหนังรักษาหายได้ หากรักษาตั้งแต่แรก 
 
     มีข้อมูลจาก น.พ.นิโคลัส เพอริโคน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและผู้แต่งหนังสือ The Wrinkle Cure บอกไว้ว่า จำนวนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผิวหนังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากสถิติเมื่อก่อน 1 ใน 10000 คน ปัจจุบัน พบเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 93 คน

http://www.beltina.org
     กาที่คนเรามีสีผิวต่างๆกัน เป็นผลจากการทำงานของเซลล์เม็ดสี (melanocyte) ซึ่งจะผลิตเม็ดสี เพื่อป้องกันเซลล์ผิวหนังของเรา จากอันตรายจากแสงแดด ดังนั้น การทาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผิวขาวขึ้น ก็เท่ากับไปลดการทำงานของเซลล์เม็ดสี และทำให้เซลล์ผิวหนัง มีโอกาสรับแสงอัลตราไวโอเลตมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
     กากำจัดไฝหรือขี้แมลงวันก็ เช่นกัน ปัจจุบันนิยมรักษาด้วยเลเซอร์ เนื่องจากทำได้เร็ว ไม่มีเลือดออก ไม่ต้องมีรอยเย็บ ไม่ต้องตัดไหม แต่มีข้อควรคำนึงว่า มะเร็งผิวหนังบางชนิด ระยะเริ่มแรกอาจแยกยากจากไฝธรรมดา บางคนกำจัดไฝกันเอง โดยใช้ธูปจี้บ้าง ใช้ปูนกัดบ้าง ซึ่งไม่ควรทำอย่างยิ่ง นอกจากจะเป็นแผลเป็นง่ายแล้ว ถ้าหากรอยโรคที่เข้าใจเอาเองว่าเป็นไฝนั้น แท้ที่จริงเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก การจี้นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งไม่หมด มีโอกาสแพร่กระจายได้แล้ว ยังทำให้การส่งตรวจทางพยาธิวิทยาในภายหลัง อ่านผลได้ลำบาก ดังนั้น การจะทำอะไรกับไฝหรือก้อนต่างๆ บนผิวหนัง จึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อน
 
มะเ็งผิวหนังมีหลายชนิด 

http://skincancer-fact.com/type-of-basal-cell-carcinoma-bcc
     ที่พบบ่อย ได้แก่ Squamous cell carcinoma, Basal cell carcinoma อีกชนิดที่พบไม่บ่อย แต่มีความร้ายแรง เพราะสามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็วคือ มะเร็งของเซลล์เม็ดสี ที่เรียก malignant melanoma มะเร็งผิวหนังอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆ และลุกลามเฉพาะที่ หรืออาจแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่นไปต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
 
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมะเ็งผิวหนัง
 
http://sunscreen-cream.blogspot.com
      1.  แสงอัลตาไวโอเลต (UVA,UVB) พวกที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง  
 
      2.  เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ ผิวไหม้แดดง่าย มีโอกาสเสี่ยงสูง เพาะมี เม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิว คล้ำ คนที่เป็นโรคผิวหนัง Albinism ซึ่งมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดสี จะพบมะเร็งผิวหนังได้บ่อย
 
     3.  กาได้รับสารเคมีก่อมะเร็ง เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ ยาหม้อ ยาไทย ยาจีน ยาลูกกลอน
 
    4.  แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำ้อนลวก แผลจากผื่นผิวหนังบางโรค เช่น DLE
 
    5.  มีปะวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
 
    6.  เชื้อไวัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ
 
http://www.bloggang.com
    7.  ภาวะภูมิคุ้มกันบกพ่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต
 

    8.  ผิวหนังในบิเวณที่เคยได้รังสีรักษา
 
    9.  คนที่สูบบุหี่นานๆ จะเกิดมะเร็งในช่องปากได้
  


กาป้องกันและรักษา
 
http://www.hi5bkk.com/thread-7371-1-1.html
      มะเ็งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด ถ้าสามารถตรวจพบตั้งแต่แรก และกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกได้หมด ก็สามารถหายขาดได้ มะเร็งผิวหนังมีข้อเด่นคือ ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เราสามารถมองเห็นได้ จึงทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว และยังติดตามการรักษาได้ง่าย
 
      คนปกติทั่วไป จะมีเม็ดไฝ ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นตามผิวหนังได้ทุกช่วงอายุ พออายุมากขึ้นก็มีพวกกะ หูด ติ่งเนื้อต่างๆ เราจะทราบได้อย่างไรว่า รอยโรคใดอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง
   
อากาที่บอกว่าอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง


http://www.junjaowka.com
     มีวิธีสังเกตคือ 
  • ไฝที่เป็นอยู่เดิม มีูปร่างเปลี่ยนไป อาจใช้หลักง่ายๆ คือ ABCD ดังนี้  



      A= ASYMMETRY  ลักษณะของไฝทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน 


      B=BORDER IRREGULARITY ขอบของไฝไม่เียบ 

      C=COLOR  สีของไฝไม่สม่ำเสมอ 

      D=DIAMETER  ขนาดของไฝใหญ่กว่า 6 มม. 

 
  • มีผื่นหือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่หายใน4-6 สัปดาห์
 
  • ไฝหือปานที่โตเร็ว และรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
 
  •   แผลเื้อรังไม่หายใน 4 สัปดาห์
     
           ถ้ามีข้อสงสัย ให้ปึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
     
    การักษา

         มีหลายวิธี ขึ้นกับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค 

         1.  วิธีผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังออกให้หมด 
    http://www.mohssurg.com/surgery.htm
         ถ้ามะเร็งเกิดขึ้นที่บนใบหน้า ในบริเวณที่อาจมีการผิดรูปจากการผ่าตัดได้ ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดโดยวิธีที่เรียก Mohs micrographic surgery แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ในคราวเดียวกัน เพื่อตรวจดูว่าได้ตัดมะเร็งออกได้หมด หากยังมีหลงเหลือ ก็จะกลับมาผ่าตัดซ้ำจนหมด จึงจะเย็บปิดแผล วิธีนี้จะทำให้สามารถตัดมะเร็งออกได้หมดในคราวเดียว โดยไม่ตัดเนื้อดีออกมากเกินจำเป็น

         2.  รังสีรักษา หรือถ้ามีการแพร่กระจาย จะต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วยในกรณีที่ มะเร็งถูกทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่เกินที่จะตัดออกได้หมด
         
    ที่มา : พ.ญ. สุหัทยา อังสุวังษี  แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลศิริราช 
    http://www.fwdder.com
         พอดีไปอ่านเว็บไซด์นึ่งเห็นว่าน่าสนใจและเป็นเรื่องที่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันผิวให้ปลอดภัยจากมะเร็งผิวหนังคะก็เลยนำมาฝากค้า เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย...
         
            
     
    1. ยอมรับในสิ่งที่ธรรมชาติให้มา

         หลาย คนอยากมีผิวสวยใส ไร้ที่ติ ใบหน้าขาวผ่องเป็นยองใย ก็เลยสรรหาผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผิวหน้าขาวขึ้น แต่ทราบไหมว่าผลิตภัณฑ์ไวเทนนิ่งพวกนี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเมลาโนไซด์ ทำให้ผิวหนังของเราบางลง เมื่อเราไปถูกแสงแดดกระทบนานๆ เข้า แม้จะแค่ครั้งหรือสองครั้งก็ตาม ก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้มีแนวโน้มของการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
      
    2. อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

         อาหาร เสริมมีส่วนช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตมากขึ้น อย่างเช่น เบต้าแคโรทีน สามารถทำให้ผิวพรรณผ่องใส มีสารป้องกันอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง เพราะสารแคโรทีนอยด์จะไปสะสมที่ผิวหนังทำให้สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอ เล็ตได้มากกว่าเดิม หรือจะเป็นวิตามินซีก็มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังส่งเสริมให้ร่างกายนำเอาวิตามินอีไปใช้เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ ทรงประสิทธิภาพอีกด้วย

      
    3. หลีกให้พ้นสารเคมี
         ทราบ กันดีอยู่แล้วว่า สารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างตามผิวหนัง ล้วนมีโอกาสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้นเราควรจะหลีกเลี่ยงให้พ้นสารเคมีเหล่านี้ แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี ก็ควรที่จะมีการป้องกันด้วยเสื้อผ้าที่ปิดมิดชิด

       
    4. หลีกเลี่ยงแสงแดด

         การ อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานานๆ จะทำให้ผิวหนังของเราเกิดอาการถูกแดดเผา และผู้ที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ อาจจะมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดฝ้าแดดและมะเร็งที่ผิวหนัง ดังนั้นเราควรที่จะหลีกเลี่ยงการออกแดด โดยเฉพาะในเวลาตอนกลางวัน
    5. กันไว้ก่อน พ่อสอนไว้

         หาก จำเป็นที่จะต้องออกไปข้างนอก รังสี UVA และ UVB ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน อาจจะส่งผลให้ผิวหนังเราไหม้ได้ ดังนั้น จึงควรที่ปกป้องผิวหนังด้วยครีมกันแดด ยิ่งปัจจุบัน ครีมกันแดดก็ไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนเมื่อก่อนจึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่ใช้ ครีมกันแดด


     ที่มา :  http://women.thaiza.com      
         งัยค้าหวังว่าคงถูกใจสาว ๆ หลายท่านนะคะ....มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ระวังอย่าถูกแสงแดดจัด ใช้ครีมกันแดดให้ถูกต้องและเหมาะสม สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหูด,ไฝ, ปานหากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์นะคะ...ยังเป็นห่วงเหมือนเดิม..ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์....


    วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    มะเร็งตับ (Liver cancer)

     ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์กลับมาแล้วคะ ก็มีเรื่องมาเม้าท์อีกตามเคยค้า....คนใกล้ตัวค้า! ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา แต่ยังไม่ถึงขั้นมีอาการตัวเหลืองนะคะ เค้า! กลัวว่าจะเป็นมะเร็งตับหน่ะคะ ก็เลยนำเรื่องนี้มานำเสนอคะ....   

       มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1
    http://www.pak-soi.com
    ในเพศชายและอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 % ของน้ำหนักตัว ตำแหน่งของตับอยู่ชายโครงขวา แบ่งเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และซ้ายโดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepatic artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมสารอาหาร เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทำลายของเสีย ตับยังทำหน้าที่สร้างไข่ขาว Albumin ซึ่งทำทำหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปเนื้อเยื่อ 

    ชนิดของเนื้องอกตับ มีทั้งที่เป็นเนื้องอกธรรมดา และเป็นเนื้องอกร้าย 

         1. Hemangioma เป็นเนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือด ไม่มีอาการ บางรายมีเลือดออก การรักษาใช้ผ่าตัด 

         2. Hepatic adenomas เกิดจากเซลล์ตับรวมกันเป็นก้อน ผู้ป่วยมาด้วยแน่นท้อง หรือคลำได้ก้อนที่ท้อง มักพบในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน การรักษาใช้ผ่าตัดเอาออก 

         3. Focal nodular hyperplasia (FNH) เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ตับหลายชนิด เช่น เซลล์ของเนื้อตับ เซลล์ของท่อน้ำดี การรักษาผ่าตัดเอาเนื้องอกออก 

    สำหรับเนื้องอกที่เป็นมะเร็งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ 

         1. Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์หลอดเลือดในตับพบมากในผู้ป่วยที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สารvinyl chloride เป็นสารเคมีที่ใช้ในงานพลาสติก มะเร็งชนิดนี้พบน้อย แพร่กระจายเร็วส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ การรักษาให้เคมีบำบัด 

         2. Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอีสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งนี้พบได้ 13%ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดได้ไม่หมดมักต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุ 6 เดือนหลังการวินิจฉัย 

         3. Hepatoblastoma เป็นมะเร็งพบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี 

         4. Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ 

    ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับมีอะไรบ้าง 

    1. ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี พบว่าหากเป็นเรื้อรังจะพบว่ามีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูง 

    2. การได้รับสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากเชื้อราที่อยู่ในอาหารพวก ถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว 

    3. ตับแข็งจากจาก สุรา ตับอักเสบ เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ 

    4. การได้รับสาร vinyl chloride 

    5. ยาคุมกำเนิดดังได้กล่าวข้างต้น 

    6. ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ 

    7. สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับ 

    8. สูบบุหรี่ บางรายงานกล่าวว่าการสูบบุหรี่ทำให้มะเร็งตับเพิ่ม 


    สาเหตุ 

    การเกิดของโรค แยกตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ 

         1. ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิดคือ 

              1.1 มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค 

             1.2 มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

         2. ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนักที่กระจายไปยังตับ 

    2.ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ เกิดโรค เช่น 

    • โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี 
    • พยาธิใบไม้ในตับ 
    • สารเคมีต่างๆ 
    • ยารักษาโรคบางชนิด 
    • ยาฆ่าแมลง 
    • สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา 
    • สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ 
    • ภาวะทุพโภชนาการ 
    • ภาวะทางระบบอิมมูน 
    • คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม
    • ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นเซลล์มะ เร็งมีการแบ่งตัว และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

    อาการของโรคมะเร็งตับ 

         ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่มีอาการโดยมากจะเป็นมาก อาการของโรคมะเร็งตับมีอาการเหมือนกับมะเร็งที่ระบบอื่น อาการต่างๆที่พบได้คือ 
              * น้ำหนักลด 
              * เบื่ออาหาร 
              * จุกเสียดแน่นท้อง 
              * ปวดท้องตลอดเวลา 
              * ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก 
              * ตัวเหลือง ตาเหลือง 
              * คลำได้ก้อนที่บริเวณตับ 
              * อาการผู้ป่วยทรุดอย่างรวดเร็ว 

    การวินิจฉัย 

         แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วส่งตรวจ 

    http://gotoknow.org
         * ultrasound ใช้คลื่นเสียงผ่านตับเพื่อหาว่ามีก้อนบริเวณตับหรือไม่

         * CT Scan บริเวณตับเพื่อหาก้อน
     
    http://cardiac.fh-hagenberg.at
         * Angiography คือการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ แพทย์จะทำในบางรายเพื่อวางแผนผ่าตัด






    http://indiahealthtour.com
         * Laparoscopy คือส่องกล้องเข้าช่องท้อง เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด 



         * Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิ วิธีการนำชิ้นเนื้อสามทำได้โดย การใช้เข็มเจาะ หรือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อนั้นส่งตรวจ 

         * การเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ alfa-fetoprotein มักเจาะในรายที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับ และเพื่อติดตามการรักษาว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่ 


    การรักษา 

        1. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หวังผลในการหายขาดได้ แต่ใช้ได้ ในผู้ป่วยที่ก้อนยังไม่โตมาก และการทำงานของตับยังดีอยู่ 

    http://www.cpmc.org
         2. การฉีดยาเคมีและสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง ก้อนมะเร็งทำให้ก้อนยุบลง (Chemoembolization





         3. embolization คือการฉีดสารบางอย่างให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งทำให้มะเร็งขาดเลือด เป็นการรักษาในภาวะที่ผู้ป่วยไม่เหมาะในการผ่าตัด 

         4. การใช้ยาเคมี ใช้เพียงเพื่อบรรเทาไม่สามารถหายขาดได้ 

         5. การฉายแสง ใช้เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็ง 

         6. การใช้วิธีการผสมผสาน 
     
    มะเร็งตับป้องกันได้หรือไม่ มะเร็งตับสามารถป้องกันได้โดยการสาธารณสุข 

          1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของไวรัสตับอักเสบ บี และซี 

        2. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้ว เก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่

          3. ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆหรืออาหารที่ใส่ยากันบูด

            4. โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา 

           5. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็น โรคพยาธิใบไม้ตับหรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้

           6. ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ 

         7. สารเคมีต่าง ควรมีมาตรการป้องกันทั้งผู้บริโภค และคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้ 

            8. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

    เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับเมื่อเริ่มเป็นได้หรือไม่

         เป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งในระยะเริ่มต้นหากวินิจฉัยได้ย่อมทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีความเป็นไปได้สูง โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่ให้การวินิจฉัยระยะเริ่มแรกได้ช้าเนื่องจากไม่ค่อยมีอาการ เมื่อมีอาการโรคก็เป็นมากแล้ว 

         การเจาะเลือดหาสาร alfa-fetoprotein ซึ่งถ้าเป็นมะเร็งค่านี้ก็จะสูง ได้มีการเจาะหาค่านี้เพื่อตรวจหามะเร็งแรกเริ่ม ซึ่งหากนำมาหาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง ก็สามารถให้การวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกเริ่มได้ แต่ก็มีมะเร็งตับบางชนิดไม่สร้าง alfa-fetoprotein 

          เป็นงัยคะ... มะเร็งตับป้องกันได้โดยการเลือก
    รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 
    ก่อนจะรับประทานอาหารควรพิจารณาก่อนนะคะและอีกหลาย ปัจจัยคะที่ก่อให้เกิดโรค...
    ดูแลตัวเองนะ...     ยัยมินท์ช่างเม้าท์...

    วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    รับเขียนแปลน Lay out ให้กับแบบบ้านฟรี กรมโยธาธิการฯ ถูกสุดๆ แค่ 990.บาท

    แปลน Lay out แค่ๆ 990 บาท เท่านั้น

    สำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างบ้าน และใช้แบบบ้านฟรี ของกรมโยธาธิการและผังเมือง หลายท่านอาจจะประสบปัญหาในการยื่นขออนุญาติ ในการก่อสร้าง เพราะทางสำนักงานเขต จะขอดูแปลน Lay out จากท่านเพื่อให้อนุญาติก่อสร้างหรือไม่ (ไม่ใช่รับรองความแข็งแรงโครงสร้างนะครับ) อันนี้ก็ต้องมาดูว่า ขอบเขตที่ดินท่านเป็นอย่างไร ระยะร่น ระยะห่างถูกต้องตามกฏหมายกำหนดหรือไม่

    แปลน Layout เป็นอย่างไร และจำเป็นอย่างไร 

    ดังได้กล่าวไปแล้วว่า การที่สำนักงานเขตนั้น จะให้อนุุญาติก่อสร้างได้ จำเปฺ็นต้องใช้ทีดินตามโฉนดตัวจริงแล้ววาง แปลนบ้านตัวจริงที่จะสร้างลงไปใน ที่ดินจริงๆ แล้วดูว่า ระยะร่น ,ระดับลาดเอียง ,ขนาดพื้นที่ใช้สอย ,นั้นถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านทางเขตเค้าก็จะไม่อนุญาติให้สร้างล่ะครับ…

    แบบบ้านฟรี จากกรมโยธาธิการ นี่คือแบบบ้านจากกรมโยธาธิการ ครับ อันนี้โหลดฟรี ครับ

     แปลน lay out จาก แบบบ้านฟรี อันนี้ ที่ผมเขียนแปลน lay out ครับ เอาที่ดินจริงมาเขียน เพื่อใช้ขออนุญาติปลูกสร้างครับ
    ข้อดีครับของการเขียน layout ครับ
               1. ประหยัดกว่ามากครับ ….เพราะถ้าไปขออนุญาติเขตแล้ว เอกสารไม่ครบ ที่เขตอาจเสียต้องจ่ายมากว่านี้ครับ
              2. ทางผมรับประกันแก้ให้จนกว่าจุะขออนุญาติผ่านครับ (ส่วนมาก ยังไม่เคยที่ไม่ผ่านนะครับ)
              3.ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาครับ  ทีเดียว จบเลย สบายกว่ากันเยอะครับ เอาเวลาไปทำอย่างอื่นเช่น หาผู้รับเหมา ,ดูแลครอบครัวดีกว่าครับ ..ใครที่เคยไปเขตแล้ว เวลาไปๆ มาๆ จะรู้ว่ามันเซ้งแค่ไหนครับ
    สิ่งทีท่านต้องเตรียมให้ผมนะครับ
    1. แสกนโฉนดที่ดินของท่าน พร้อมทั้งวัดด้านที่อ้างอิงจากขนาดที่แท้จริงของที่ดินมาด้วยครับ เพราะผมจะได้เข้าเสกลถูก  เมลมาที่ผมครับ  หรือท่านที่ไม่มีเมล ก็โทรติดต่อผมก่อน แล้วแฟกซ์มาก็ได้ครับ
    2.แบบบ้านฟรีกรมโยธา ที่ท่านเลือก ส่งเป็นไฟล์ หรือบอกชื่อแบบก็ได้ครับ
    3.สเก็ตขอบเขตคร่าว ๆ หรือเขียนบอกรายละเอียด ก็ได้ครับ เช่น ที่ดินติดกับอะไร ,จะต่อท่อน้ำทิ้งลงจุดไหน ,ฯ ละเอียดหน่อยละกันครับ ค่อนข้างจำเป็นกับการขออนุญาติปลูกสร้างครับ
    4. อย่าลืม สเก็ตแผนที่ส่งมาด้วยนะครับ  คร่าวๆ ก็ได้ครับ อันนี้เขตไม่ซีเรียสมากนักครับ
    สิ่งที่ท่านจะได้รับ
    1.File แบบบที่ใช้ปริ้นงาน เป็น file .pdf จำนวน 1 ไฟล์
    2.File Autocad 2004 เอาไปใช้สำหรับท่านที่มีที่ plot แบบครับ จำนวน  1 ไฟล์
    3.ถ้าท่านใช้เมลไม่เป็น ผมจะส่งเป็น CD ให้ท่านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใดครับ แต่วิธีนี้ จะช้าหน่อยครับ เพราะตัองส่งไปรษณีย์

    ทั้งหมดที่พูดมานี้ ผมคิดราคาพิเศษ  990.- บาท +++ เท่านั้นครับ

    สนใจ ลงชื่อไว้ได้เลยครับ หรือทิ้งเมลไว้ก็ได้ครับ
    ติดต่อผม โทร 086-307-0762  หรือ fishguru_002@hotmail.co.th ครับ

    วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)

         พบกันอีกเช่นเคยคะ...มีเรื่องมาเม้าท์อีกแล้วคะ เรื่องก็มีอยู่ว่า พ่อของน้องที่ทำงานหน่ะคะเป็นมะเร็งต่้อมลูกหมาก... มีหรอจะรอดพ้นสายตาอันเฉียบคมไปได้  "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"    เลยหูผึ่งเข้าไปร่วมวงสนทนาด้วย..ก็คนมันอยากรู้นี่คะ...ก็เลยเก็บเรื่องนี้มาฝากกันคะ....     
    http://www.siambig.com
          ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดขนาดใหญ่ มีหน้าที่ สำคัญในการผลิตน้ำหล่อลื่นและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ แต่ต่อมนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างอสุจิเอง

           การเกิดมะเร็งของต่อมลูกหมากนั้นเกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากนี้ได้เปลี่ยน แปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ กล่าวคือ มีการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์เหล่านี้อย่างรวดเร็ว และมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การอุดตันหลอดปัสสาวะ หรือมีการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากอย่างมากมาย ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นเซลล์ที่โตและเบ่งตัวอย่างรวดเร็วนี้จะแทรกหรือเคลื่อน ย้ายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียงหรือแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญ ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ ปอด หรือกระดูก ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และถูกทำลายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อถึงระยะนั้นแล้วผู้ป่วยก็จะถึงแก่ชีวิตได้

    สาเหตุ

    มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่

    • อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี 
    • ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป 
    • เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา ในประเทศไทยมะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งในเพศชาย 
    • ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone หรือ androgen) จะเป็นตัวเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น 
    • อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมาก  
    อาการ

          มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบได้เช่นกัน
    • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน 
    • เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก 
    • ปัสสาวะไม่พุ่ง
    • เวลาปัสสาวะจะปวด
    • อวัยวะเพศแข็งตัวยาก 
    • เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด 
    • มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ 
    • ปวดหลังปวดข้อ 
    อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

         1 . กลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากเลย ตรวจพบจากการตรวจร่างกายประจำปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้

         2. กลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติทำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อผ่านการตรวจอย่างละเอียดอาจพบว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ป่วย บางรายอาจได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ เพื่อแก้ไขภาวะต่อมลูกหมากโต และพบมะเร็งจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา 

         3. กลุ่มที่มีอาการของมะเร็งโดยทั่วไป ได้แก่อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามร่างกาย และกระดูก อาการเหล่านี้เป็นผลจากการลุกลามของมะเร็ง ผู้ป่วยในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและอาจป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้

    ระยะของโรค

         การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยัง อยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D 
         1. Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูก หมาก 

         2. Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย 

         3. Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก

         4. Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น

         5. Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว 

    การตรวจวินิจฉัยโรค

         ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ก็ควรไปรับการตรวจเช็คต่อมลูกหมากจากแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจต่อมลูกหมากประกอบด้วย 
    http://www.health-protect.com
         1. การตรวจทางทวารหนัก Digital Rectal Examination คือการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนักเพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่น ความแข็งของต่อมลูกหมาก หากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมักคลำได้ก้อนแข็ง, ผิวขรุขระ 


         2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด คือ PSA (Prostate-specific antigen) สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงสามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด ถ้าระดับของ PSA ในเลือดสูงกว่าปกติคือ ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้

         3. การตรวจอัลตราซาวน์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Transrectal Prostatec Ultrasound) โดยการใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก

         4. การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Biopsy) แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก ซึ่งส่วน ใหญ่จะตัดชิ้นเนื้อในขณะที่ทำการตรวจต่อมลูกหมากด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ 

    การรักษา

         การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรค อายุของผู้ป่วย รวมทั้งการประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย 
         การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ผู้ป่วยระยะนี้ ยังไม่มีการกระจายของมะเร็งไปนอกต่อมลูกหมาก อาจทำการรักษาได้ 3 วิธี คือ

         1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด ( Radical Prostatectomy ) เป็นการผ่าตัดใหญ่เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดเป็นวิธีการที่สามารถทำให้หายจากโรคได้ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้สำเร็จจะมีพยากรณ์โรคดีมาก มะเร็งในระยะที่ 1จะมีอัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีสูงถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยทั่วไปไม่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังผ่าตัด ได้แก่ การสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ ท่อปัสสาวะตีบ และปัสสาวะเล็ด เป็นต้น

    http://childrencancerfund.org
         2. การฝังรังสี ( Brachytherapy) เป็นการรักษาแบบใหม่ โดยการฝังแท่งรังสีขนาดเล็กมากเข้าไปที่ต่อมลูกหมากผ่านผิวหนังบริเวณฝีเย็บ เป็นการรักษารูปแบบใหม่มีใช้จำกัดในโรงพยาบาลบางแห่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก มีข้อดีคือ อาจลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศหลังการรักษาได้ 

    http://www.agingthai.org
         3. การผ่าตัดโดยใช้กล้อง ( Laparoscopic radical Prostatectomy) เหมือนการผ่าตัดแบบ radical prostatectomy แต่ใช้กล้องแทน ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน 


    การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม

         มะเร็งในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษามีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งการลุกลามเพิ่มขึ้นของมะเร็ง รักษาอาการปวดที่เกิดจากมะเร็ง และคงสภาพคุณภาพชีวิตปกติของผู้ป่วยให้มากที่สุด การพยากรณ์โรคหลังการรักษาด้วยวิธีนี้ยังดีมากเมื่อเทียบกับมะเร็งอื่นที่พบในเพศชาย เช่น มะเร็งปอด ตับ และลำไส้ใหญ่ การรักษามีหลักการที่สำคัญคือ การลด ยับยั้งหรือทำลายแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญของมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 2 วิธีการคือ 

    1. การผ่าตัดเพื่อเอาอัณฑะออก เป็นการผ่าตัดเล็ก ได้ผลดี และเร็ว 

    2. การใช้ยาฉีดหรือกิน เพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย ยาส่วนใหญ่มีราคาแพง แต่ได้ผลการรักษาดีเท่ากับการผ่าตัดเอาอัณฑะออก แต่มีข้อเสียคือ ต้องฉีดหรือกินตลอดไป 

    การปฏิบัติตน 

         การมาตรวจเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แพทย์จะทำการซักอาการต่างๆ ตรวจร่างกายและทำการเจาะเลือดหาระดับ PSA เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ในกรณีที่ PSA มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอาจจะมีการกำเริบของโรค ซึ่งจำเป็นแก่การรักษาเพิ่มเติม ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อมีข้อสงสัยหรือเกิดอาการข้างเคียงใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาโดยทันที    

         แต่ถ้าพบได้ในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายขาดได้นะคะ ยังงัยก็ดูแลสุขภาพรักตัวเองให้มาก ๆ เพราะถ้าเราอยากจะรักใครก็ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนนะคะ....."ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์" 

    วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

    มะเร็งเต้านม (Breast cancer)

          สวัสดีคะ... ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์คะ....ห่างหายกันไปนานเลยนะคะ วันนี้มีเรื่องมะเร็งเต้านมมาฝากคะ มะเร็งเต้านมถ้าตรวจพบด้วยตัวเองก่อนในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายได้คะ เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านมก่อนดีกว่า
              มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
    http://www.moph.go.th
       เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหรือมี ความสัมพันธ์กับภาวะของฮอร์โมน, พันธุกรรมและภาวะทางสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปมักพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป (แต่ในแถบเอเชียพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่านี้ได้บ่อยขึ้น) ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อย (early menarche) และหมดประจำเดือนช้า (late menopause) การไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมาก โดยเฉพาะมากกว่า 30 ปี มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวเดียวกัน และจาก องค์ประกอบอื่น เช่น การได้รับรังสี5,6 และปริมาณไขมันในสารอาหารที่รับประทาน เป็นต้น 

              หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป 

         * หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะ กลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

         * ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

         * การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

         * ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า คนปกติ

         * ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ 
         * ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น 

         * การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

              มะเร็งระยะเริ่มต้น

         นั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้ 

         * มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม

         * มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม

         * ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด

         * หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ

         * มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง) 

         * เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว ) 

         * การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะอาการของโรค 

         * เริ่มจากการคลำก้อนไม่ได้จนถึงมีก้อนเล็กๆ ขึ้นที่เต้านม ส่วนมากจะไม่มี อาการ เจ็บปวด

         * ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ท ำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านม ใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง หดตัวเล็กหรือแบนลงได้ ก้อนมะเร็ง อาจจะรั้งให ้หัวนมบุ๋ม เข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านม มีลักษณะ หยาบ และขรุขระ บางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหล ซึมออกมา มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดได้อย่างรวดเร็วไปตาม หลอดเลือด และน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ

         * บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุดได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ที่ รักแร้ 

         * ในรายที่เป็นมากแล้วเนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยาย กว้างออกไป และมีกลิ่นเหม็นจัด 

         ระยะของมะเร็งเต้านม 

         * ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม 

         *  ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

         * ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น 

         * ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

         * ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

          การตรวจวินิจฉัยและรักษา

         * การตรวจพบและรักษามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดได้ 

    http://en.wikipedia.org/wiki/Mammography
         * การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และ การตรวจโดยเอ็กซเรย์เต้านม หรือ การทำแมมโมแกรม (Mammogram) ช่วยให้พบความผิดปกติ หรือก้อน มะเร็งได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 

         * การรักษานั้นอาจทำโดยการผ่าตัด การบำบัดทางรังสี และการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท ทั้งนี้อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับผล การ ตรวจพิเศษ ของชิ้นเนื้อมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมา

         ข้อพึงปฏิบัติ 

         * ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

         * ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโต ขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ

         * พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น 

         การตรวจเต้านมตนเอง

         การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดู หรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

         วิธีการตรวจ 3 ท่า ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

    http://www.yourhealthyguide.com
         1. ยืนหน้ากระจก


         * ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
         * ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ


         *ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น 


    http://www.yourhealthyguide.com
          * โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าว เอว









         2. นอนราบ 

    http://www.thedivx.net
         * นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา 

         * ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด

         * ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย 

         3. ขณะอาบน้ำ             

    http://www.vcharkarn.com
         * สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้อง การตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน

         * สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน 

         การดูแลเต้านม 

         1. อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

         2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน

         3. สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ 

         4. หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ 

         การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป 

         ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน
        
         เป็นยังงัยคะเรื่องที่นำมาให้ท่านผู้รักสุขภาพในวัน หวังว่าคงถูกใจนะคะ และ อย่าลืมตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำนะคะ เป็นการป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งคะ ....เป็นห่วงสุขภาพทุกท่านคะ ... "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"