วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

มะเร็งเต้านม (Breast cancer)

      สวัสดีคะ... ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์คะ....ห่างหายกันไปนานเลยนะคะ วันนี้มีเรื่องมะเร็งเต้านมมาฝากคะ มะเร็งเต้านมถ้าตรวจพบด้วยตัวเองก่อนในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายได้คะ เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านมก่อนดีกว่า
          มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
http://www.moph.go.th
   เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหรือมี ความสัมพันธ์กับภาวะของฮอร์โมน, พันธุกรรมและภาวะทางสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปมักพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป (แต่ในแถบเอเชียพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่านี้ได้บ่อยขึ้น) ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อย (early menarche) และหมดประจำเดือนช้า (late menopause) การไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมาก โดยเฉพาะมากกว่า 30 ปี มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวเดียวกัน และจาก องค์ประกอบอื่น เช่น การได้รับรังสี5,6 และปริมาณไขมันในสารอาหารที่รับประทาน เป็นต้น 

          หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป 

     * หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะ กลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

     * ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

     * การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

     * ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า คนปกติ

     * ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ 
     * ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น 

     * การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

          มะเร็งระยะเริ่มต้น

     นั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้ 

     * มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม

     * มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม

     * ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด

     * หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ

     * มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง) 

     * เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว ) 

     * การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะอาการของโรค 

     * เริ่มจากการคลำก้อนไม่ได้จนถึงมีก้อนเล็กๆ ขึ้นที่เต้านม ส่วนมากจะไม่มี อาการ เจ็บปวด

     * ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ท ำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านม ใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง หดตัวเล็กหรือแบนลงได้ ก้อนมะเร็ง อาจจะรั้งให ้หัวนมบุ๋ม เข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านม มีลักษณะ หยาบ และขรุขระ บางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหล ซึมออกมา มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดได้อย่างรวดเร็วไปตาม หลอดเลือด และน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ

     * บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุดได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ที่ รักแร้ 

     * ในรายที่เป็นมากแล้วเนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยาย กว้างออกไป และมีกลิ่นเหม็นจัด 

     ระยะของมะเร็งเต้านม 

     * ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม 

     *  ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

     * ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น 

     * ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

     * ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

      การตรวจวินิจฉัยและรักษา

     * การตรวจพบและรักษามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดได้ 

http://en.wikipedia.org/wiki/Mammography
     * การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และ การตรวจโดยเอ็กซเรย์เต้านม หรือ การทำแมมโมแกรม (Mammogram) ช่วยให้พบความผิดปกติ หรือก้อน มะเร็งได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 

     * การรักษานั้นอาจทำโดยการผ่าตัด การบำบัดทางรังสี และการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท ทั้งนี้อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับผล การ ตรวจพิเศษ ของชิ้นเนื้อมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมา

     ข้อพึงปฏิบัติ 

     * ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

     * ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโต ขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ

     * พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น 

     การตรวจเต้านมตนเอง

     การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดู หรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

     วิธีการตรวจ 3 ท่า ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

http://www.yourhealthyguide.com
     1. ยืนหน้ากระจก


     * ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
     * ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ


     *ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น 


http://www.yourhealthyguide.com
      * โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าว เอว









     2. นอนราบ 

http://www.thedivx.net
     * นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา 

     * ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด

     * ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย 

     3. ขณะอาบน้ำ             

http://www.vcharkarn.com
     * สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้อง การตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน

     * สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน 

     การดูแลเต้านม 

     1. อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

     2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน

     3. สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ 

     4. หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ 

     การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป 

     ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน
    
     เป็นยังงัยคะเรื่องที่นำมาให้ท่านผู้รักสุขภาพในวัน หวังว่าคงถูกใจนะคะ และ อย่าลืมตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำนะคะ เป็นการป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งคะ ....เป็นห่วงสุขภาพทุกท่านคะ ... "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

จุดเริ่มต้นของชีวิต ผู้ชมครบ 1,000 คนแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ
วันนี้ยัยมิ้น ช่างเม้า ไม่ได้มาเขียนบทความเรื่องสุขภาพเหมือนทุกทีนะคะ แต่วันนี้จะขอแสดงความดีใจกับ Blog ของตัวเองค่ะ เป็น Blog แรกในชีวิตเลยนะคะ  ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็ "จุดเริ่มต้นของชีวิต-Begining of life" นี่ไงคะ วันนี้มีผู้ชม ครบจำนวน 1,000 คนพอดีเป๊ะเลย 

ก็อยากจะบอกเพื่อนๆ ที่เริ่มเขียน Blog หรือกำลังลังเลใจ ว่า "การเดินทางทุกครั้ง เป้าหมายไกลแค่ไหนไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สำคัญที่ก้าวแรกนะคะ"

Begining of life 1,000 visitor จุดเริ่มต้นของชีวิตผู้ชมครบ 1,000 คนค่ะ

แล้วยังไง ก็พบกันใหม่นะค่ะ วันนี้ยัยมิ้น ช่างเม้าท์ ขอไปพักผ่อนก่อนค่ะ บ๊าย บาย

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis)

สวัสดีคะ...ท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านวันนี้ "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์" นำความรู้ในเรื่องใหม่ ๆ มาฝากคะ...เผอิญรู้ชื่อโรคเมลิออยโดสิส มาจากเพื่อนเพราะตอนนั้นน้องชายเพื่อนบวชเป็นพระธุดงส์ปรากฏว่า หลังจากสึกมาเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ เพื่อนกังวลมากคะเป็นไข้อยู่หลายวัน หมอคิดว่าเป็นมาลาเรีย  ให้ยารักษามาลาเรียอยู่หลายวันก็ไม่หาย 
สุดท้ายทราบว่าเป็น "โรคเมลิออยโดสิส"

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่าคะ

http://www.bangkokhealth.com
      เมลิออยโดสิส (Melioidosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุจาก Burkholderia (Pseudomonas ) pseudomallei ซึ่งพบได้ในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ หมู โค กระบือ โรคนี้พบได้มากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ ออสเตรเลียตอนเหนือ โดยเฉพาะในประเทศไทย มีผู้ป่วย 2000 -3000 รายต่อปี อุบัติการณ์ของโรคมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ย 4.4 ต่อ 100,000 คน    พบผู้ป่วยมากในฤดูฝน  ถูกจัดให้อยู่ใน สปีชีส์ใหม่ ชื่อ Burkholderia thailandnensis 

อาการ 

     ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการแต่ตรวจพบแอนติบอดี จนกระทั่งอาการรุนแรง โลหิตเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการ 2 รูปแบบ คือการติดเชื้อเฉพาะที่ และ การติดเชื้อแบบแพร่กระจายไปทั่ว มักพบมีอาการปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิตและฝีในอวัยวะภายใน พบมีอาการของโรคกลับซ้ำได้บ่อยในกรณีที่ให้ยาปฏิชีวนะไม่นานพอ อาการและ อาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคเช่น เลปโตสไปโรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็วจะมีผลต่อการรักษาและการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิตเร็ว  หลังการรักษา 1-2 วัน
  
การก่อโรค  
B. pseudomallei ยังไม่ทราบแน่ชัด

ปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค 

     ความสามารถในการก่อโรค (virulence)  จำนวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย   เชื้อโรคมีการสร้าง biofilm ห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลทำให้เชื้อสามารถเจริญได้ในเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและ สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilm ยังป้องกันไม่ให้สารต้านจุลชีพซึ่มเข้าสู่เซลล์ ทำให้เชื้อสามารถทนต่อสารต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น 

การติดต่อ

     ที่พบบ่อย ได้แก่ การหายใจ และ การสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ ในขณะที่มีบาดแผล  การติดต่อจากคนสู่คนมีรายงานน้อยมาก ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ที่พบบ่อย 2-20 วัน หรืออาจนานเป็นปี

การควบคุมและป้องกัน 

      ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิส การควบคุมป้องกันโรคทำได้ยาก       เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้ำขณะทำงาน ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเรื้อรัง หรือ มีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน โดยสวมรองเท้าบูทขณะทำงานลุยน้ำ ลุยโคลน

การรักษา 

     ในรายที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมก่อนทราบผลการเพาะเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว 

 การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ
     
     1.  การเพาะเชื้อแบคทีเรีย เป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ เช่น blood agar, Mac Conkey agar ใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ มักเป็นเลือด (Hemoculture) เสมหะ น้ำจากปอด หนองจากฝี ปัสสาวะ เมื่อเชื้อขึ้นจะทำการ ทดสอบทางชีวเคมี และทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ยารักษาได้เหมาะสม 

     2.  การตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วย  
  • Indirect hemagglutination (IHA) ทดสอบโดยใช้เม็ดเลือดแดงที่เคลือบแอนติเจนของ B. pseudomallei ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีจำเพาะในซีรัมผู้ป่วย ในกรณีที่มีการติดเชื้อจะเกิดการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

  • Immunofluorescent assay (IFA) เป็นการตรวจแอนติบอดีจำเพาะชนิด IgG และ IgM ในซีรัมผู้ป่วย ต่อเชื้อ B. pseudomallei ที่เคลือบไว้บนสไลด์ และติดตามปฏิกิริยาด้วยการย้อมด้วย anti-human IgG/IgM ที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะเห็นตัวเชื้อ B. pseudomallei เรืองแสงสีเขียวเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง

  • Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เป็นการตรวจแอนติบอดีต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยโดยการทำปฏิกิริยากับสารสกัดจาก B.pseudomallei ที่เคลือบไว้บนไมโครเพลตหรือเมมเบรน และติดตามปฏิกิริยาด้วยแอนติบอดีจำเพาะต่อ IgG หรือ IgM ที่ติดฉลากด้วยเอ็นซัยม์ ทำให้เกิดสีซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือวัดปริมาณด้วยเครื่องวัด
  • การตรวจแอนติเจนของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ เลือด ปัสสาวะ หนอง วิธีทีใช้ทดสอบได้แก่ Latex agglutination (LA), Direct fluorescent assay (DFA) และ ELISA ทดสอบกับ hemoculture ทำให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแลโลหิตได้เร็วขึ้น 
  • การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี PCR มีการศึกษาวิจัยในหลายสถาบัน พบว่ามีความไวและความจำเพาะสูง แต่ยังไม่แพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป 
     เป็นยังไงบ้างคะน่ากลัวใช่ม้า..."ยอดนักเลียนแบบ" เชื้อโรคมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อความอยู่รอด เราก็ต้องรู้ทันเชื้อโรคเพื่อความอยู่รอดเหมือนกัน ...เป็นห่วงคะ...จาก....ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์.. แล้วพบกันใหม่
 นะคะ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

นอนกรน

      การนอนหลับเป็นเรื่องปกติและเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ แต่ถ้าเกิด "นอนกรน" จะทำให้การนอนหลับไม่มีความสุขทั้งต่อตัวเองและคนที่นอนข้างเคียง ทั้งยังเกิดผลเสียที่จะตามมาอีกด้วย บางคนเถียงคอขึ้นเอ็นเลยว่า "ไม่ได้นอนกรน" แต่ลองถามคนที่นอนข้างเคียงดูเถอะ....จะรู้ 
     วันนี้ "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"ก็เลยจะพามารู้จัก การนอนกรน กันว่า จริง ๆ แล้วมีผลเสียอย่างไรบ้างกับตัวเองและคนข้างเคียง
 
นอนกรน 
                                             
       การนอนหลับที่มีเสียงดังขณะหายใจเข้าหรือออก โดยที่เสียงนั้นเกิดขึ้น เนื่องจากการสั่นสะเทือน (Vibrate) ของอวัยวะส่วนต่างๆในช่องปากและลำคอ ซึ่งได้แก่ ลิ้นไก่ เพดานอ่อน โคนลิ้น ต่อมทอนซิล และ กล่องเสียง 

นอนกรน คือ ความผิดปกติของการนอน มี ๒ ชนิด ดังนี้ 

1.ชนิดไม่อันตราย ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพียงแต่ก่อความรำคาญให้คนใกล้ชิดเท่านั้น

2.ชนิดอันตราย นั่นคือ หยุดหายใจขณะหลับ อันเนื่องมาจากมีการ
อุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับ ภาวะอุดตันทางเดินหายใจ
ส่วนบน และระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ นอนกรน ชนิดไม่อันตราย ขณะที่คนเรานอนหงายและหลับสนิท เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ในช่องคอ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนจะตกไปทางด้านหลัง ในคนที่ช่องคอแคบกว่าปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะขวางกั้นทางเดินผ่านของอากาศจึงเกิดเสียงกรนขึ้น ซึ่งอาจทำให้รบกวนคนที่นอนด้วยให้เกิดความรำคาญ 

 สังเกตอาการตนเองอย่างไร

      ผู้ป่วยที่นอนกรน ไม่ทราบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยหรือไม่ อาจให้คนนอนข้างๆ สังเกตหรือพิจารณาว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

     1.นอนกรนเสียงดัง 

     2.รู้สึกนอนไม่เต็มตื่น อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ 

     3.ตื่นนอนตอนเช้ามีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย

    4.ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ขณะทำงานหรือเรียนหนังสือ จนถึงขั้นมีอันตรายเช่นอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์ (หลับใน) หรืออุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักรต่างๆ

     5.ความคิดการอ่าน ความสามารถในการจดจำลดลง 

     6.หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ

     7.ในเด็กอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายไม่แข็งแรง ปัสสาวะรดที่นอน 

                                                                                          

แนวทางการรักษา แยกได้เป็น 2 แนวทาง คือ การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด 

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด 

     1.การควบคุมน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน การพยายามลดน้ำหนักลง มีรายงานทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 7.8 จะมีอัตราการนอนกรนลดลงถึงร้อยละ 30 ผู้ป่วยนอนกรนที่ลดน้ำหนักตัวลงจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของระบบทางเดินหายใจ ส่วนบนกว้างขึ้น
                                    
                                                 ที่มาของรูป www.sleepgroup.com 
      
     2.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และยากล่อมประสาท 
แอลกอฮอล์และยากล่อมประสาทเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ในผู้ป่วยที่นอนหลับยากควรเลี่ยงการดื่มสารที่มีกาเฟอีน
                                                                                                                     
     3.การนอน ผู้ป่วยที่นอนหงายจะมีอาการกรนและหยุดหายใจ ขณะหลับได้บ่อยกว่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ ในสมัยก่อนมีการใช้ถุงใส่ลูกเทนนิส 3-4 ลูกติดไว้ด้านหลังของเสื้อนอน เพื่อบังคับให้ผู้ที่ใส่นอนตะแคงหรือนอนคว่ำ (sleep ball technique)

     4.การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เครื่องมือทางทันตกรรมที่ใช้นี้จะมีลักษณะคล้ายๆ ฟันยางกันกระแทกของนักมวย แต่จะถูกดัดแปลงมาให้ปรับตำแหน่งของขอกรรไกรล่างให้เคลื่อนมาทางด้านหน้า กว่าภาวะปกติ ทำให้บริเวณลิ้นเคลื่อนมาทางด้านหน้าด้วย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือ ลักษณะอาการคอแห้งปากแห้ง มีอาการอักเสบของข้อกราม หรือในรายที่เครื่องมือชำรุด ชิ้นส่วนอาจตกเข้าในปาก ลำคอ หรือเป็นสิ่งแปลกปลอมในหลอดลมได้ 

   5.การใช้เครื่องอัดอากาศเพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ (CPAP) เป็นวิธีการป้องกันการตีบแคบของช่องลำคอ โดยใช้แรงดันอากาศเป็นตัวถ่างไว้ 

การรักษาโดยการผ่าตัด 

     จุดประสงค์ของการผ่าตัดในการรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทางเดินหายใจส่วนบน คือ การขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น การที่จะพิจารณาผ่าตัดนั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัย ส่วนมากแล้วมักต้องตรวจการนอนก่อน ตำแหน่งที่จะทำการผ่าตัดขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของที่ตรวจได้ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับโพรงจมูก ระดับเพดานอ่อน และระดับโคนลิ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ

     1.อายุ ในคนที่มีอายุมาก เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดความตึงตัว กล้ามเนื้อหย่อนยาน รวมทั้งช่องทางเดินหายใจบริเวณคอแคบลง ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย

     2.เพศ เพศชายจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตันทาง เดินหายใจส่วนบนมากกว่าเพศหญิง เชื่อว่าฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทาง เดินหายใจ มีความตึงตัวที่ดีกว่า

     3.ลักษณะโครงสร้างของกระดูกใบหน้า คนที่มีคางสั้นมาก กระดูกใบหน้าแบน จะมีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติ

     4.ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีการสะสมของไขมันมากบริเวณลำคอและทรวงอก ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง การเคลื่อนไหวของหน้าอกแย่ลง

     5.การดื่มสุรา ยาคลายเครียด และยานอนหลับ ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง รวมถึงกล้ามเนื้อในลำคอ เกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ง่าย นอกจากนี้แอลกอฮอล์และยายิ่งมีผลกดการทำงานของสมองให้ช้ากว่าปกติ

     6.การสูบบุหรี่ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีประสิทธิภาพแย่ลง

     7.กรรมพันธุ์ 

       ควรสังเกตตนเองและพูดคุยกับคนใกล้ชิดว่าอาการเหล่านี้เป็นมากน้อยเพียงใด และควรใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้น "การนอน จะไม่ใช่การพักผ่อนที่ดีที่สุด" ของคุณอีกต่อไป

       ด้วยความปราถนาดีจาก คนรักสุขภาพ....."ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

     พบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับ ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์ วันนี้เรามาพูดคุยกันในเรื่อง การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก กันดีกว่านะคะ การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลากหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
                                                                                    
เมื่อไรจึงจะฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้เริ่ม ฉีดเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี แต่อาจจะฉีดเมื่ออายุ 9 ปีก็ได้ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อ HPV และช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังแนะนำว่าว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 13-26 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน 
 
จะต้องฉีดกี่เข็ม
 
ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดสามเข็มคือ เข็มที่สองและสามห่างจากเข็มแรกสองและสี่เดือนตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิได้เต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • ครั้งที่1ให้ฉีดตามที่กำหนด
  • ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 6 เดือน
สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปี หรือมีเพศสัมพันธุ์แล้วยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนหรือไม่

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะมีภูมิต่อเชื้อ HPV type 6, 11, 16 และ 18 ดังนั้นหากท่านยังไม่ได้รับเชื้อดังกล่าว ท่านก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน สำหรับท่านที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน ท่านมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปแล้วอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน 
 
เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว...ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกอีกหรือไม่?

ปัจจุบันวัคซีนครอบคลุมได้ประมาณ ร้อยละ 71 (ไม่ครบร้อย) จึงยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดอื่นๆ ได้ แต่การได้รับวัคซีนก็จะช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเอชพีวี 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญได้ และช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกให้น้อยลงได้ แต่ไม่ทั้งหมด
 
วัคซีนนี้อันตรายหรือไม 
มักจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ไข้ต่ำๆ เหมือนคนเป็นหวัด เวียนศีรษะเล็กน้อย ผลข้างเคียงรุนแรงก็พบได้น้อย 
 
คนที่ฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องทำ PAP Smear หรือไม่
การตรวจภายในยังคงมีความจำเป็นแม้ว่าคุณได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว เพราะการตรวจภายในจะสามารถตรวจโรคอื่นได้ด้วย 
 
วัคซีนนี้จะให้ในคนท้องได้หรือไม่

ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อทารก หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังจากฉีดไปหนึ่งเข็ม แนะนำให้หยุดฉีดวัคซีนจนกระทั่งคลอดบุตรแล้วจึงฉีดต่อ

วัคซีนนี้จะป้องกันได้นานแค่ไหน
 
จากการศึกษาเบื้องต้นวัคซีนนี้สามารถอยู่ได้นาน แต่กำลังศึกษาว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่ 
 
ต้องตรวจทำ PAP Smear ก่อนการฉีดวัคซีนหรือไม่
  
      ขึ้นกับประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และประวัติการตรวจภายใน
  1. หากไม่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถฉีดวัคซีนได้เลย
  2. หากมีประวัติเพศสัมพันธ์มาก่อน และ ไม่เคยทำ PAP Smear ก็ให้ทำ PAP Smear เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
    • หากผลปกติก็ให้ฉีดวัคซีนได้
    • หากผลผิดปกติก็ให้รักษาตามขั้นตอน
หากตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอก็ให้ฉีดวัคซีนได้
      เป็นอย่างไรบ้างคะเรื่องที่นำมาฝาก การใช้วัคซีนป้องกันก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ก็อย่าลืมว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน เป็นต้น  ดังนั้น   เราควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอทุก    6  เดือน - 1 ปี ไม่สูบบุหรี่ ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์เพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์ ไปพบแพทย์ หากมีตกขาวผิดปกติหรือมีเลือดออกผิดปกติจาก ช่องคลอด เท่านี้ก็เป็นการช่วยตัวเราเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกเปาะนึ๊งแล้วคะ…...ยัยมิ้นท์ช่างเม้า

เหรียญที่ระลึกในหลวงได้รับ..รางวัลความสำเร็จด้านพัฒนามนุษย์ ปี2549 (UNDP)

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เนื่องในโอกาศที่ สำนักงานพัฒนาโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ปี ๒๕๔๙

Untitled

 เหรียญที่ระลึก

เหรียญเงิน ประเภทขัดเงาและลงสีพิมพ์ออฟเซ็ต 4 สี สั่งทำจากประเทศออสเตเลีย จำนวน 250,000 เหรียญเท่านั้น เป็นครั้งแรกในการจัดสร้างเหรียญกษาปณ์พิมพ์สีของไทย ราคาหน้าเหรียญ 900 บาท แต่ราคาเปิดให้แลก 1500 บาท กองกษาปณ์ให้สิทธิแลก 1 คน / 1 เหรียญเท่านั้น เป็นเหรียญกษาปณ์ทรงคุณค่าที่น่าเก็บและมีความสวยงามอย่างยิ่ง ตอนนี้เริ่มหายากแล้วโดนเก็บไปเยอะ พร้อมกล่องหนังเดิมๆ..”