วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มะเร็งตับ (Liver cancer)

 ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์กลับมาแล้วคะ ก็มีเรื่องมาเม้าท์อีกตามเคยค้า....คนใกล้ตัวค้า! ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา แต่ยังไม่ถึงขั้นมีอาการตัวเหลืองนะคะ เค้า! กลัวว่าจะเป็นมะเร็งตับหน่ะคะ ก็เลยนำเรื่องนี้มานำเสนอคะ....   

   มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1
http://www.pak-soi.com
ในเพศชายและอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 % ของน้ำหนักตัว ตำแหน่งของตับอยู่ชายโครงขวา แบ่งเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และซ้ายโดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepatic artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมสารอาหาร เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทำลายของเสีย ตับยังทำหน้าที่สร้างไข่ขาว Albumin ซึ่งทำทำหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปเนื้อเยื่อ 

ชนิดของเนื้องอกตับ มีทั้งที่เป็นเนื้องอกธรรมดา และเป็นเนื้องอกร้าย 

     1. Hemangioma เป็นเนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือด ไม่มีอาการ บางรายมีเลือดออก การรักษาใช้ผ่าตัด 

     2. Hepatic adenomas เกิดจากเซลล์ตับรวมกันเป็นก้อน ผู้ป่วยมาด้วยแน่นท้อง หรือคลำได้ก้อนที่ท้อง มักพบในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน การรักษาใช้ผ่าตัดเอาออก 

     3. Focal nodular hyperplasia (FNH) เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ตับหลายชนิด เช่น เซลล์ของเนื้อตับ เซลล์ของท่อน้ำดี การรักษาผ่าตัดเอาเนื้องอกออก 

สำหรับเนื้องอกที่เป็นมะเร็งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ 

     1. Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์หลอดเลือดในตับพบมากในผู้ป่วยที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สารvinyl chloride เป็นสารเคมีที่ใช้ในงานพลาสติก มะเร็งชนิดนี้พบน้อย แพร่กระจายเร็วส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ การรักษาให้เคมีบำบัด 

     2. Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอีสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งนี้พบได้ 13%ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดได้ไม่หมดมักต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุ 6 เดือนหลังการวินิจฉัย 

     3. Hepatoblastoma เป็นมะเร็งพบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี 

     4. Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ 

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับมีอะไรบ้าง 

1. ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี พบว่าหากเป็นเรื้อรังจะพบว่ามีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูง 

2. การได้รับสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากเชื้อราที่อยู่ในอาหารพวก ถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว 

3. ตับแข็งจากจาก สุรา ตับอักเสบ เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ 

4. การได้รับสาร vinyl chloride 

5. ยาคุมกำเนิดดังได้กล่าวข้างต้น 

6. ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ 

7. สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับ 

8. สูบบุหรี่ บางรายงานกล่าวว่าการสูบบุหรี่ทำให้มะเร็งตับเพิ่ม 


สาเหตุ 

การเกิดของโรค แยกตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ 

     1. ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิดคือ 

          1.1 มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค 

         1.2 มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

     2. ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนักที่กระจายไปยังตับ 

2.ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ เกิดโรค เช่น 

  • โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี 
  • พยาธิใบไม้ในตับ 
  • สารเคมีต่างๆ 
  • ยารักษาโรคบางชนิด 
  • ยาฆ่าแมลง 
  • สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา 
  • สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ 
  • ภาวะทุพโภชนาการ 
  • ภาวะทางระบบอิมมูน 
  • คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นเซลล์มะ เร็งมีการแบ่งตัว และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

อาการของโรคมะเร็งตับ 

     ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่มีอาการโดยมากจะเป็นมาก อาการของโรคมะเร็งตับมีอาการเหมือนกับมะเร็งที่ระบบอื่น อาการต่างๆที่พบได้คือ 
          * น้ำหนักลด 
          * เบื่ออาหาร 
          * จุกเสียดแน่นท้อง 
          * ปวดท้องตลอดเวลา 
          * ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก 
          * ตัวเหลือง ตาเหลือง 
          * คลำได้ก้อนที่บริเวณตับ 
          * อาการผู้ป่วยทรุดอย่างรวดเร็ว 

การวินิจฉัย 

     แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วส่งตรวจ 

http://gotoknow.org
     * ultrasound ใช้คลื่นเสียงผ่านตับเพื่อหาว่ามีก้อนบริเวณตับหรือไม่

     * CT Scan บริเวณตับเพื่อหาก้อน
 
http://cardiac.fh-hagenberg.at
     * Angiography คือการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ แพทย์จะทำในบางรายเพื่อวางแผนผ่าตัด






http://indiahealthtour.com
     * Laparoscopy คือส่องกล้องเข้าช่องท้อง เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด 



     * Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิ วิธีการนำชิ้นเนื้อสามทำได้โดย การใช้เข็มเจาะ หรือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อนั้นส่งตรวจ 

     * การเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ alfa-fetoprotein มักเจาะในรายที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับ และเพื่อติดตามการรักษาว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่ 


การรักษา 

    1. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หวังผลในการหายขาดได้ แต่ใช้ได้ ในผู้ป่วยที่ก้อนยังไม่โตมาก และการทำงานของตับยังดีอยู่ 

http://www.cpmc.org
     2. การฉีดยาเคมีและสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง ก้อนมะเร็งทำให้ก้อนยุบลง (Chemoembolization





     3. embolization คือการฉีดสารบางอย่างให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งทำให้มะเร็งขาดเลือด เป็นการรักษาในภาวะที่ผู้ป่วยไม่เหมาะในการผ่าตัด 

     4. การใช้ยาเคมี ใช้เพียงเพื่อบรรเทาไม่สามารถหายขาดได้ 

     5. การฉายแสง ใช้เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็ง 

     6. การใช้วิธีการผสมผสาน 
 
มะเร็งตับป้องกันได้หรือไม่ มะเร็งตับสามารถป้องกันได้โดยการสาธารณสุข 

      1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของไวรัสตับอักเสบ บี และซี 

    2. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้ว เก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่

      3. ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆหรืออาหารที่ใส่ยากันบูด

        4. โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา 

       5. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็น โรคพยาธิใบไม้ตับหรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้

       6. ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ 

     7. สารเคมีต่าง ควรมีมาตรการป้องกันทั้งผู้บริโภค และคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้ 

        8. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับเมื่อเริ่มเป็นได้หรือไม่

     เป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งในระยะเริ่มต้นหากวินิจฉัยได้ย่อมทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีความเป็นไปได้สูง โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่ให้การวินิจฉัยระยะเริ่มแรกได้ช้าเนื่องจากไม่ค่อยมีอาการ เมื่อมีอาการโรคก็เป็นมากแล้ว 

     การเจาะเลือดหาสาร alfa-fetoprotein ซึ่งถ้าเป็นมะเร็งค่านี้ก็จะสูง ได้มีการเจาะหาค่านี้เพื่อตรวจหามะเร็งแรกเริ่ม ซึ่งหากนำมาหาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง ก็สามารถให้การวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกเริ่มได้ แต่ก็มีมะเร็งตับบางชนิดไม่สร้าง alfa-fetoprotein 

      เป็นงัยคะ... มะเร็งตับป้องกันได้โดยการเลือก
รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 
ก่อนจะรับประทานอาหารควรพิจารณาก่อนนะคะและอีกหลาย ปัจจัยคะที่ก่อให้เกิดโรค...
ดูแลตัวเองนะ...     ยัยมินท์ช่างเม้าท์...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น