วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

มะเร็งเต้านม (Breast cancer)

      สวัสดีคะ... ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์คะ....ห่างหายกันไปนานเลยนะคะ วันนี้มีเรื่องมะเร็งเต้านมมาฝากคะ มะเร็งเต้านมถ้าตรวจพบด้วยตัวเองก่อนในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายได้คะ เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านมก่อนดีกว่า
          มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
http://www.moph.go.th
   เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหรือมี ความสัมพันธ์กับภาวะของฮอร์โมน, พันธุกรรมและภาวะทางสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปมักพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป (แต่ในแถบเอเชียพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่านี้ได้บ่อยขึ้น) ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อย (early menarche) และหมดประจำเดือนช้า (late menopause) การไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมาก โดยเฉพาะมากกว่า 30 ปี มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวเดียวกัน และจาก องค์ประกอบอื่น เช่น การได้รับรังสี5,6 และปริมาณไขมันในสารอาหารที่รับประทาน เป็นต้น 

          หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป 

     * หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะ กลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

     * ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

     * การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

     * ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า คนปกติ

     * ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ 
     * ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น 

     * การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น 

          มะเร็งระยะเริ่มต้น

     นั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้ 

     * มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม

     * มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม

     * ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด

     * หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ

     * มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง) 

     * เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว ) 

     * การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะอาการของโรค 

     * เริ่มจากการคลำก้อนไม่ได้จนถึงมีก้อนเล็กๆ ขึ้นที่เต้านม ส่วนมากจะไม่มี อาการ เจ็บปวด

     * ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ท ำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านม ใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง หดตัวเล็กหรือแบนลงได้ ก้อนมะเร็ง อาจจะรั้งให ้หัวนมบุ๋ม เข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านม มีลักษณะ หยาบ และขรุขระ บางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหล ซึมออกมา มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดได้อย่างรวดเร็วไปตาม หลอดเลือด และน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ

     * บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุดได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ที่ รักแร้ 

     * ในรายที่เป็นมากแล้วเนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยาย กว้างออกไป และมีกลิ่นเหม็นจัด 

     ระยะของมะเร็งเต้านม 

     * ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม 

     *  ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

     * ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น 

     * ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

     * ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

      การตรวจวินิจฉัยและรักษา

     * การตรวจพบและรักษามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดได้ 

http://en.wikipedia.org/wiki/Mammography
     * การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และ การตรวจโดยเอ็กซเรย์เต้านม หรือ การทำแมมโมแกรม (Mammogram) ช่วยให้พบความผิดปกติ หรือก้อน มะเร็งได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 

     * การรักษานั้นอาจทำโดยการผ่าตัด การบำบัดทางรังสี และการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท ทั้งนี้อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับผล การ ตรวจพิเศษ ของชิ้นเนื้อมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมา

     ข้อพึงปฏิบัติ 

     * ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

     * ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโต ขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ

     * พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น 

     การตรวจเต้านมตนเอง

     การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดู หรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

     วิธีการตรวจ 3 ท่า ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

http://www.yourhealthyguide.com
     1. ยืนหน้ากระจก


     * ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
     * ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ


     *ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น 


http://www.yourhealthyguide.com
      * โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าว เอว









     2. นอนราบ 

http://www.thedivx.net
     * นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา 

     * ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด

     * ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย 

     3. ขณะอาบน้ำ             

http://www.vcharkarn.com
     * สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้อง การตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน

     * สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน 

     การดูแลเต้านม 

     1. อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

     2. ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน

     3. สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ 

     4. หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ 

     การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป 

     ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน
    
     เป็นยังงัยคะเรื่องที่นำมาให้ท่านผู้รักสุขภาพในวัน หวังว่าคงถูกใจนะคะ และ อย่าลืมตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำนะคะ เป็นการป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งคะ ....เป็นห่วงสุขภาพทุกท่านคะ ... "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น