วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis)

สวัสดีคะ...ท่านผู้รักสุขภาพทุกท่านวันนี้ "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์" นำความรู้ในเรื่องใหม่ ๆ มาฝากคะ...เผอิญรู้ชื่อโรคเมลิออยโดสิส มาจากเพื่อนเพราะตอนนั้นน้องชายเพื่อนบวชเป็นพระธุดงส์ปรากฏว่า หลังจากสึกมาเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ เพื่อนกังวลมากคะเป็นไข้อยู่หลายวัน หมอคิดว่าเป็นมาลาเรีย  ให้ยารักษามาลาเรียอยู่หลายวันก็ไม่หาย 
สุดท้ายทราบว่าเป็น "โรคเมลิออยโดสิส"

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่าคะ

http://www.bangkokhealth.com
      เมลิออยโดสิส (Melioidosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุจาก Burkholderia (Pseudomonas ) pseudomallei ซึ่งพบได้ในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ หมู โค กระบือ โรคนี้พบได้มากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ ออสเตรเลียตอนเหนือ โดยเฉพาะในประเทศไทย มีผู้ป่วย 2000 -3000 รายต่อปี อุบัติการณ์ของโรคมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ย 4.4 ต่อ 100,000 คน    พบผู้ป่วยมากในฤดูฝน  ถูกจัดให้อยู่ใน สปีชีส์ใหม่ ชื่อ Burkholderia thailandnensis 

อาการ 

     ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการแต่ตรวจพบแอนติบอดี จนกระทั่งอาการรุนแรง โลหิตเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการ 2 รูปแบบ คือการติดเชื้อเฉพาะที่ และ การติดเชื้อแบบแพร่กระจายไปทั่ว มักพบมีอาการปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิตและฝีในอวัยวะภายใน พบมีอาการของโรคกลับซ้ำได้บ่อยในกรณีที่ให้ยาปฏิชีวนะไม่นานพอ อาการและ อาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคเช่น เลปโตสไปโรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็วจะมีผลต่อการรักษาและการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิตเร็ว  หลังการรักษา 1-2 วัน
  
การก่อโรค  
B. pseudomallei ยังไม่ทราบแน่ชัด

ปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค 

     ความสามารถในการก่อโรค (virulence)  จำนวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย   เชื้อโรคมีการสร้าง biofilm ห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลทำให้เชื้อสามารถเจริญได้ในเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและ สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilm ยังป้องกันไม่ให้สารต้านจุลชีพซึ่มเข้าสู่เซลล์ ทำให้เชื้อสามารถทนต่อสารต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น 

การติดต่อ

     ที่พบบ่อย ได้แก่ การหายใจ และ การสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ ในขณะที่มีบาดแผล  การติดต่อจากคนสู่คนมีรายงานน้อยมาก ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ที่พบบ่อย 2-20 วัน หรืออาจนานเป็นปี

การควบคุมและป้องกัน 

      ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิส การควบคุมป้องกันโรคทำได้ยาก       เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้ำขณะทำงาน ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเรื้อรัง หรือ มีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน โดยสวมรองเท้าบูทขณะทำงานลุยน้ำ ลุยโคลน

การรักษา 

     ในรายที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมก่อนทราบผลการเพาะเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว 

 การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ
     
     1.  การเพาะเชื้อแบคทีเรีย เป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ เช่น blood agar, Mac Conkey agar ใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ มักเป็นเลือด (Hemoculture) เสมหะ น้ำจากปอด หนองจากฝี ปัสสาวะ เมื่อเชื้อขึ้นจะทำการ ทดสอบทางชีวเคมี และทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ยารักษาได้เหมาะสม 

     2.  การตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วย  
  • Indirect hemagglutination (IHA) ทดสอบโดยใช้เม็ดเลือดแดงที่เคลือบแอนติเจนของ B. pseudomallei ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีจำเพาะในซีรัมผู้ป่วย ในกรณีที่มีการติดเชื้อจะเกิดการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

  • Immunofluorescent assay (IFA) เป็นการตรวจแอนติบอดีจำเพาะชนิด IgG และ IgM ในซีรัมผู้ป่วย ต่อเชื้อ B. pseudomallei ที่เคลือบไว้บนสไลด์ และติดตามปฏิกิริยาด้วยการย้อมด้วย anti-human IgG/IgM ที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะเห็นตัวเชื้อ B. pseudomallei เรืองแสงสีเขียวเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง

  • Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เป็นการตรวจแอนติบอดีต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยโดยการทำปฏิกิริยากับสารสกัดจาก B.pseudomallei ที่เคลือบไว้บนไมโครเพลตหรือเมมเบรน และติดตามปฏิกิริยาด้วยแอนติบอดีจำเพาะต่อ IgG หรือ IgM ที่ติดฉลากด้วยเอ็นซัยม์ ทำให้เกิดสีซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือวัดปริมาณด้วยเครื่องวัด
  • การตรวจแอนติเจนของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ เลือด ปัสสาวะ หนอง วิธีทีใช้ทดสอบได้แก่ Latex agglutination (LA), Direct fluorescent assay (DFA) และ ELISA ทดสอบกับ hemoculture ทำให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแลโลหิตได้เร็วขึ้น 
  • การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี PCR มีการศึกษาวิจัยในหลายสถาบัน พบว่ามีความไวและความจำเพาะสูง แต่ยังไม่แพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป 
     เป็นยังไงบ้างคะน่ากลัวใช่ม้า..."ยอดนักเลียนแบบ" เชื้อโรคมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อความอยู่รอด เราก็ต้องรู้ทันเชื้อโรคเพื่อความอยู่รอดเหมือนกัน ...เป็นห่วงคะ...จาก....ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์.. แล้วพบกันใหม่
 นะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น