พบกันอีกเช่นเคยคะ...มีเรื่องมาเม้าท์อีกแล้วคะ เรื่องก็มีอยู่ว่า พ่อของน้องที่ทำงานหน่ะคะเป็นมะเร็งต่้อมลูกหมาก... มีหรอจะรอดพ้นสายตาอันเฉียบคมไปได้ "ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"
เลยหูผึ่งเข้าไปร่วมวงสนทนาด้วย..ก็คนมันอยากรู้นี่คะ...ก็เลยเก็บเรื่องนี้มาฝากกันคะ....
ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดขนาดใหญ่ มีหน้าที่ สำคัญในการผลิตน้ำหล่อลื่นและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ แต่ต่อมนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างอสุจิเอง

![]() |
http://www.siambig.com |
สาเหตุ
มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่
- อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
- ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป
- เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา ในประเทศไทยมะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งในเพศชาย
- ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone หรือ androgen) จะเป็นตัวเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น
- อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมาก
อาการ
มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบได้เช่นกัน
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
- เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
- ปัสสาวะไม่พุ่ง
- เวลาปัสสาวะจะปวด
- อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
- เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
- มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
- ปวดหลังปวดข้อ
อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1 . กลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากเลย ตรวจพบจากการตรวจร่างกายประจำปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้
2. กลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติทำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อผ่านการตรวจอย่างละเอียดอาจพบว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ป่วย บางรายอาจได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ เพื่อแก้ไขภาวะต่อมลูกหมากโต และพบมะเร็งจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
3. กลุ่มที่มีอาการของมะเร็งโดยทั่วไป ได้แก่อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามร่างกาย และกระดูก อาการเหล่านี้เป็นผลจากการลุกลามของมะเร็ง ผู้ป่วยในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและอาจป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้
ระยะของโรค
การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยัง อยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D
1. Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูก หมาก
2. Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
3. Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
4. Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
5. Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว
การตรวจวินิจฉัยโรค
ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ก็ควรไปรับการตรวจเช็คต่อมลูกหมากจากแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจต่อมลูกหมากประกอบด้วย
![]() |
http://www.health-protect.com |
1. การตรวจทางทวารหนัก Digital Rectal Examination คือการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนักเพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่น ความแข็งของต่อมลูกหมาก หากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมักคลำได้ก้อนแข็ง, ผิวขรุขระ
2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด คือ PSA (Prostate-specific antigen) สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงสามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด ถ้าระดับของ PSA ในเลือดสูงกว่าปกติคือ ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้
3. การตรวจอัลตราซาวน์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Transrectal Prostatec Ultrasound) โดยการใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
4. การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Biopsy) แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก ซึ่งส่วน ใหญ่จะตัดชิ้นเนื้อในขณะที่ทำการตรวจต่อมลูกหมากด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
การรักษา
การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรค อายุของผู้ป่วย รวมทั้งการประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ผู้ป่วยระยะนี้ ยังไม่มีการกระจายของมะเร็งไปนอกต่อมลูกหมาก อาจทำการรักษาได้ 3 วิธี คือ
1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด ( Radical Prostatectomy ) เป็นการผ่าตัดใหญ่เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดเป็นวิธีการที่สามารถทำให้หายจากโรคได้ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้สำเร็จจะมีพยากรณ์โรคดีมาก มะเร็งในระยะที่ 1จะมีอัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีสูงถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยทั่วไปไม่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังผ่าตัด ได้แก่ การสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ ท่อปัสสาวะตีบ และปัสสาวะเล็ด เป็นต้น
![]() |
http://childrencancerfund.org |
2. การฝังรังสี ( Brachytherapy) เป็นการรักษาแบบใหม่ โดยการฝังแท่งรังสีขนาดเล็กมากเข้าไปที่ต่อมลูกหมากผ่านผิวหนังบริเวณฝีเย็บ เป็นการรักษารูปแบบใหม่มีใช้จำกัดในโรงพยาบาลบางแห่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก มีข้อดีคือ อาจลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศหลังการรักษาได้
![]() |
http://www.agingthai.org |
3. การผ่าตัดโดยใช้กล้อง ( Laparoscopic radical Prostatectomy) เหมือนการผ่าตัดแบบ radical prostatectomy แต่ใช้กล้องแทน ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม
มะเร็งในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษามีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งการลุกลามเพิ่มขึ้นของมะเร็ง รักษาอาการปวดที่เกิดจากมะเร็ง และคงสภาพคุณภาพชีวิตปกติของผู้ป่วยให้มากที่สุด การพยากรณ์โรคหลังการรักษาด้วยวิธีนี้ยังดีมากเมื่อเทียบกับมะเร็งอื่นที่พบในเพศชาย เช่น มะเร็งปอด ตับ และลำไส้ใหญ่ การรักษามีหลักการที่สำคัญคือ การลด ยับยั้งหรือทำลายแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญของมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 2 วิธีการคือ
1. การผ่าตัดเพื่อเอาอัณฑะออก เป็นการผ่าตัดเล็ก ได้ผลดี และเร็ว
2. การใช้ยาฉีดหรือกิน เพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย ยาส่วนใหญ่มีราคาแพง แต่ได้ผลการรักษาดีเท่ากับการผ่าตัดเอาอัณฑะออก แต่มีข้อเสียคือ ต้องฉีดหรือกินตลอดไป
การปฏิบัติตน
การมาตรวจเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แพทย์จะทำการซักอาการต่างๆ ตรวจร่างกายและทำการเจาะเลือดหาระดับ PSA เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ในกรณีที่ PSA มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอาจจะมีการกำเริบของโรค ซึ่งจำเป็นแก่การรักษาเพิ่มเติม ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อมีข้อสงสัยหรือเกิดอาการข้างเคียงใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาโดยทันที
แต่ถ้าพบได้ในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายขาดได้นะคะ ยังงัยก็ดูแลสุขภาพรักตัวเองให้มาก ๆ เพราะถ้าเราอยากจะรักใครก็ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนนะคะ.....
"ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์"
แต่ถ้าพบได้ในระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสหายขาดได้นะคะ ยังงัยก็ดูแลสุขภาพรักตัวเองให้มาก ๆ เพราะถ้าเราอยากจะรักใครก็ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนนะคะ.....

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น