วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระดูกพรุนป้องกันได้ก่อนที่จะสายเกินไป


 ว้า! ..ไม่รู้จะสรรหาเรื่องไหนมาเล่าให้ฟังก็เลยหยิบยกเอาเรื่องใกล้ตัวมาเล่าให้ฟังแล้วกันนะคะ..สงสัยยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์ เริ่มแก่แล้วมั้งก็เลยต้องรู้ไว้เพื่อป้องกันตัวเองไว้ก่อนเผื่อตอนที่เราแก่ไปแล้วจริงๆ จะได้ไม่เป็นโรคนี้งั้ยจ๊ะ..อีกอย่างยายเพิ่งจะกระดูกสะโพกหักไปไม่นานมานี้เอง...มีความเสี่ยงขนาดนี้ต้องดูแลตัวเองแล้วเรา..บรือ..ออ!
โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกโปร่งบาง คือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิด
1. ผู้หญิงหลังจากหมดประจำเดือน สาเหตุสำคัญเชื่อว่าเกิดจาก ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน 
2. การกินอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น กินอาหารที่มีโปรตีนสูง ( เนื้อสัตว์ )หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ( รสเค็ม ) แต่กินอาหารที่มีแคลเซี่ยมน้อย ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน 
3. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัว เป็นโรคกระดูกพรุน ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 
4. พฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำ
5. ขาดการออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนัก 
6. น้ำหนักตัว คนผอมมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีรูปร่างอ้วน เนื่องจากคนอ้วนมีไขมันมากซึ่งไขมันนี้สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ได้ 
7. เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินดี โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด 
8. กินยาบางชนิดที่ส่งผลต่อกระดูก ทำให้กระดูกบางลง ที่พบบ่อยได้แก่ ยาสเตียรอยด์รวมถึงยาชุด ยาสมุนไพร ยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของ
ยาสเตียรอยด์อยู่ นอกจากนั้นยังมียาอื่น ๆ ได้แก่ยากันชัก ยาขับปัสสาวะซึ่งมักใช้ในโรคความดันโลหิตสูง 
9. ผู้สูงอายุ สาเหตุสำคัญเชื่อว่าเกิดจากอายุที่ เพิ่มขึ้นและการขาดแคลเซี่ยมเป็นเวลานาน 


แนวทางการรักษา

ปัจจุบันรักษาโดยใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ได้แก่  
1. การออกกำลังกาย ซึ่งต้องมีการแบกรับน้ำหนักขณะออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดิน การยกน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มเนื้อของกระดูกในบริเวณที่รับน้ำหนักได้
2. ขจัดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้สูญเสียเนื้อกระดูก เช่น การดื่มสุรา ดื่มกาแฟ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
3. การรักษาด้วยยา
   3.1 ยาที่มีฤทธิ์ลดการทำลายกระดูก เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแคลซิโตนิน แคลเซี่ยม
   3.2 ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูก เช่น วิตามินดี ฟลูออไรด์

เท่านี้ก็ทำให้เราห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้เยอะเลยที่สำคัญอย่าลืมดื่มนมเยอะๆ นะคะ สำหรับคนที่ดื่มนมแล้วท้องเสียแนะนำให้ดื่มน้อย ๆ แต่บ่อย ๆคะแต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็หันมาทานอาหารอื่นที่มีแคลเซียมสูงแทนก็ๆได้ เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ถั่ว งา ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่ทานได้ทั้งกระดูก ก้งแห้ง รวมทั้งผักอีกหลายอย่าง เช่น ใบยอ มะเขือ คะน้า ผักโขม เป็นต้น ทีสำคัญอย่าลืมไปตากแดดรับวิตามินดีประมาณ 10-15 นาทีก็พอคะ เพราะวิตามินดีมีความสำคัญในการรักษาสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย พร้อมช่วยดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ด้วย.....ขอโทษคะที่เม้านานไปหน่อยด้วยอาชีพมันพาไปหน่ะคะแล้วค่อยพบกันใหม่นะคะ.....อยากรู้เรื่องอะไรก็โพสต์กันเข้ามาได้คะ ยัยมิ้นท์ช่างเม้าท์ คนนี้จะพยายามหาสาระดี ๆ มาให้อีกนะคะ....Bye...Bye
ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น