วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อ่อนล้าเรื้อรัง


       เมื่อวันก่อนยัยมิ้นท์ ช่างเม้าท์เดินเข้าร้านหนังสือเนื่องจากทำงานสายที่เกี่ยวกับสุขภาพอยู่แล้วก็เลยไปเจอหนังสือชื่อว่า HealthToday ปีที่ 10 ฉ.117 ธันวาคม 2553พบกลุ่มอาการที่หน้าสนใจมาก บทความเขียนโดย พ.อ.(พ) รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา  เรียกว่ากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง เลยขออนุญาตินำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ....
     กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง(Chronic Fatigue syndrome,CFS) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายแต่อย่างใด การพักผ่อนก็ไม่ช่วยให้อาการเหล่านี้้ดีขึ้นและต้องมีอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการหลังการเป็นไข้หวัดใหญ่ กลไกการเกิดโรคทำให้้เกิดอาการทางระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบต่อมไร้ท่อ 
     สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด
     กลุ่มเสี่ยง  เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอายุระหว่าง40-59 ปี 
     อาการ   กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับโรคหลาย ๆ ระบบทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ สมาธิสั้น เป็นต้น จนมีผลต่อร่างกายและจิตใจในที่สุด 
     อาการแสดง

     อาการเริ่มต้น ส่วนใหญ่มักเกิดอาการอย่างเฉียบพลันทันที เช่นมีอาการเมื่อยกล้ามเนื้อเหมือนเป็น 
ไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์การควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริการจึงให้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้ไว้ว่าต้องประกอบด้วยอาการอ่ออนล้าที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการออกแรง จนมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันและแม้พักก็ไม่หาย รวมถึงต้องมีอาการต่อไปนี้ตั้แต่ 4 อย่างขึ้นไปเป็นเวลานานอย่างน้อย  6 เดือน คือ
  • ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อมถอย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้่อหลังการออกกำลัง รู้สึกว่าร่างกายและสมองเกิดความอ่อนล้า
  • หลับไม่เต็มอิ่ม
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดข้อหลายข้อ                                                          
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • เจ็บคอบ่อย ๆ                  
  • เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ หรือรักแร้
และอาจมีอาการที่ตรวจพบร่วมด้วย ได้แก่
  • ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย
  • หนาวสั่นและเหงื่อออกในเวลากลางคืน 
  • สมาธิสั้น
  • หายใจติดขัด
  • ไอเรื้อรัง
  • การมองเห็นผิดปกติ(ภาพเบลอ ไวต่อแสง ปวดตา หรือตาแห้ง)
  • แพ้หรือไวต่ออาหาร แอกอฮอล์ กลิ่น สารเคมี ยา หรือ เสียง
  • ยืนนาน ๆ จะมีอาการเป็นลมวิงเวียน ใจสั่น มึนศรีษะ เซ ทรงตัวไมอยู่
  • มีปัญหาด้านจิตใจ (ซึมเศร้า อารมณ์ไม่แน่นอน ตื่นเต้น หวาดกลัว)
      การวินิจฉัย  ส่วนใหญ่เป็นการสอบประวัติ เนื่องจากยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยยืนยัน
     การรักษา  เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ทำให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุตามอาการที่ปรากฎ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด จึงมีผู้ป่วยเพียง 5% ที่มีโอกาสหายขาด จากการรักษาตามอาการ แต่การรักษาบางอย่างที่ให้ผลน่าสนใจดังนี้
  •  การรักษาเชาว์ปัญญาและพฤติกรรม
  •  การทำกายภาพบำบัด
  • การบรับเปลี่ยนประพฤติกรรม
      การฟื้นตัว ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเพียงร้อยละ  5 ส่วนผู้ป่วยที่สามารถกลับไปทำงานตามปกติจะอยู่ที่ประมาณ 8-30 (แล้วแต่ผลการศึกษา) รวมถึงการฟื้นตัวยังมีความสัมพันธ์กับอายุ โดยที่ผู้อายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัวอื่นมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มากกว่า
     การเสียชีวิต  ผู้ที่เป็นโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตไม่แตกต่างจากคนทั่วๆ ไป อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายจะมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งพบในผู้ป่วยอายุน้อย

     ทำอย่างไรให้ไกลจาก CFS 
ควรพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่อมสุราและการสูบบุหรี่ การทำใจจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ้านและห้องพักให้ปลอดโปร่ง มีอากาศถ่ายเทดี รวมถึงการตรวจสุขภาพร่างกายประจำทุกปี


 Up date โรคใหม่ ๆ ให้รู้จักกันมากขึ้น.....โรคมีการพัฒนาเราก็ต้องก้าวให้ทัน....

จะได้สังเกตตัวเองและคนรอบข้างก่อนที่จะมีอาการได้อย่างทันท่วงทีนะคะวันนี้ ยัยมิ้นช่างเม้าท์ ขอลากันไปก่อนแล้วพบกันใหม่คะ......Bye....Bye...

อ่านบทความอื่น ....

สมุนไพรไทยกับโรคภูมิแพ้ ,โรคหวัด , มะเร็งมดลูก  , โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  , โรคอ้วนลงพุง , อ่อนล้าเรื้อรัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น